หนังสือคู่มือ “การวิเคราะห์ความเค้น (Stress Analysis) ด้วย Autodesk Inventor Professional”

รายละเอียดสินค้า : หนังสือคู่มือ “การวิเคราะห์ความความเค้น (Stress Analysis) ด้วย Autodesk Inventor Professional”           

ผู้เขียน :  นาย ชนวัฒน์ มีรัตน์

ปี : 2559

พิมพ์ครั้งที่ : 1

ขนาด 210 x 297 mm.

จำนวนหน้า : 162 หน้า

ราคา : 299 บาท

ISBN :

จำหน่ายวันแรก 19 ส.ค. 59

“การวิเคราะห์ความเค้น (Stress Analysis) ด้วย Autodesk Inventor Professional” คือหนังสือสอนการใช้ฟังก์ชัน Stress Analysis ของโปรแกรม Autodesk Inventor Professional วิเคราะห์ความเค้น หรือความแข็งแรง หรือการเสียรูป  ที่เกิดจากภาระภายนอก ซึ่งเป็นปัญหาทางวิศวกรรม โดยอาศัยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Method: FEM) ที่สามารถแก้ปัญหาแบบเชิงเส้น (Linear) ซึ่งสามารถวิเคราะห์ ชิ้นงาน (Part)  งานผนังบาง (Thin Wall) งานประกอบ (Assembly) ซึ่งจะช่วยให้วิศวกร ออกแบบงานที่สามารถรองรับภาระตามวัตถุประสงค์ในการออกแบบ ช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริง ช่วยลดการออกแบบที่เกินจำเป็น (Over Design) ด้วย Optimization Design แล้วยังสามารถวิเคราะห์หาระยะโก่ง (Displacement) ของงานโครงสร้าง Frame and Truss ได้อีกด้วย

เนื้อหาในเล่มประกอบด้วย

บทที่ 1 การแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

  • ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
  • ปัญหาทางกลศาสตร์ของของแข็ง
  • ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาด้วยระเบียบไฟไนต์เอลิเมนต์
  • พื้นฐานทางวิศวกรรม คุณสมบัติของวัสดุ ความเค้น (Stress) และความเครียด (Strain)

บทที่ 2 ฟังก์ชัน Stress Analysis

  • ฟังก์ชัน Stress Analysis
  • อินเตอร์เฟสของ Stress Analysis
  • ขั้นตอนการทำงานของฟังก์ชัน Stress Analysis
  • แนวทางและข้อเสนอแนะในการใช้ฟังก์ชัน Stress Analysis

บทที่ 3 ภาระ (Load) และ การจับยึด (Constraint)

  • ภาระ (Load), Force, Pressure, Bearing, Moment,
  • ภาระจากความโน้มถ่วง
  • ภาระที่เกิดภายในวัตถุ (Body Load), Remote Force และ ภาระจากการเคลื่อนที่ (Motion Load)
  • การจับยึด (Constraint), Fixed Constraint, Pin Constraint และ Frictionless Constraint

บทที่ 4 การวิเคราะห์ผลเฉลย

  • การตั้งค่า General Tab, Solve Tab, Meshing Tab
  • เริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาผลเฉลย
  • การตีความและการกำหนดการแสดงของผลเฉลย
  • การสร้างรายงานการวิเคราะห์

บทที่ 5 เอลิเมนต์

  • Mesh Element
  • การลู่เข้าของผลเฉลยและการตั้งค่า Convergence Settings
  • ความสัมพันธ์ของเอลิเมนต์และการลู่เข้าของผลเฉลย              

บทที่ 6 ปัญหาผนังบาง (Thin Wall)

  • การวิเคราะห์โครงสร้างผนังบาง

บทที่ 7 การนำผลจากฟังก์ชัน Dynamic Simulation

มาวิเคราะห์

  • การนำข้อมูลจากฟังชัน Dynamic Simulation มาใช้

บทที่ 8 Optimize Design

  • Parametric Table
  • เงื่อนไขการออกแบบ (Design Constraint)
  • กำหนดตัวแปร (Design Parameter) 

บทที่ 9 ฟังก์ชัน Frame Analysis

  • การวิเคราะห์โครงสร้าง Frame and Truss
  • ฟังก์ชัน Frame Analysis
  • การแสดงผลเฉลยของฟังก์ชัน Frame Analysis

เหมาะสำหรับ

* นักศึกษาระดับ ปวส. ถึง ปริญญาตรี

* วิศวกรในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ Mechanical Design

* ผู้สนใจทั่วไป

 

  « กลับ  
ลูกค้าของเรา